วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม

นางสาว อวัสดา ธรรมวิจิตรกุล  ม.4/4   เลขที่ 8
นายฐิรวัฒน์  วิสุทธินันท์         ม.4/4   เลขที่ 11
นายณัฏฐ์   ขำแป้น                ม.4/4  เลขที่ 12
นายณัฐพงศ์  สวุรรณกิจ          ม.4/4  เลขที่ 14


วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สารเสพติด


สารเสพติด
สารเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
  1. เกิดอาการดื้อยาหรือต้านยาและเมื่อติดแล้วต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
  2. เกิดอาการขาดยาถอนยาหรืออยากยาเมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
  3. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา
  4. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมเกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคมและประเทศชาติ

ประเภทของยาเสพติด
ยาเสพติดแบ่งได้หลายรูปแบบตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
  • ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ
  • ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2  ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีนโคเคอีน และเมทาโดน
  • ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
  • ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4 คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใดและมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์และอะเซติลคลอไรด์ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้ ผสมผสาน เห็ดขี้ควาย
  • ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
  • ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
  • ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
  • ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
  • ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา
วิธีการเสพยาเสพติด 
กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
  • สอดใต้หนังตา
  • สูบ
  • ดม
  • รับประทานเข้าไป
  • อมไว้ใต้ลิ้น
  • ฉีดเข้าเหงือก
  • ฉีดเข้าเส้นเลือด
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • เหน็บทางทวารหนัก

สาเหตุของการติดยาเสพติด มีหลายประการ ดังนี้คือ
  1. อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยคิดว่า "ไม่ติด" แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด
  2. ถูกเพื่อนชักชวน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน และการทำงาน
  3. ถูกหลอกลวง โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด
  4. ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ
  5. เกิดจากความคนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความเก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด
  6. ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด อยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติด
จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
  • สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
  • ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
  • ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
  • ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
  • มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
  • ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตได้จาก
  • เป็นคนเจ้าอารมณ์หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
  • ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
  • ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
  • พูดจาก้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
  • ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน
  • การตรวจขั้นต้น ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป ความแม่นยำในการตรวจปานกลาง สดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่
  • การตรวจขั้นยืนยัน : เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง
การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งออกเป็น 3 ระบบคือ
  • ระบบสมัครใจ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
  • ระบบต้องโทษ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กระทรวงยุติธรรม
  • ระบบบังคับบำบัด หมายถึง ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับบำบัดตามกฏหมาย
บทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติด
  • ผู้จำหน่ายหรือมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง น้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท
  • เกิน 100 กรัม ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท
  • ผู้เสพเฮโรอีนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท ผู้ใดเสพกัญชา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • มีกัญชาไว้ในครอบครอง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
  • ผลิต (ปลูก) ฝิ่น จำคุกอย่างต่ำ 2 ปี และปรับอย่างต่ำ 20,000-150,000บาท
แหล่งที่มา :  http://www.baanjomyut.com/library/drugs/

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผลกระทบจากยาเสพติด(ความรุนแรง)



การระบาดของยาเสพติดที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทยเราขณะนี้เป็นปัญหาที่ดู เหมือนว่า จะไม่มีทางแก้ไขได้สำเร็จ การปราบปรามอย่างรุนแรงทั้งด้วยปืนของตำรวจและด้วยปาก ของนักการเมือง ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดยั้งการแพร่กระจายของยาเสพติดที่แทรกแซง เข้าไปยัง ประชากรทุกหมู่เหล่า ทุกเพศทุกวัยได้เลย ปริมาณยาเสพติดที่ยึดได้หากนำมารวมกันทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน น่าจะนำไปใช้ ถมที่ดินเพื่อก่อสร้างสนามบินแห่งที่สอง เป็นการประหยัดทรายได้มิใช่น้อย ปัญหายาเสพติดมิใช่ปัญหาของบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลก ต่างกันแต่เพียงระดับความรุนแรงและประเภทของยาเสพติดเท่านั้น


ผลกระทบต่อตัวบุคคล

๑. ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย กรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ ๕๐ นอกจากนี้ผลกระทบตัวยาบางตัว เช่น แอมเฟตามีน หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบ ต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลาง และทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ
๒. ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิกทาง การเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ ๓. ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุกมักปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิด อุบัติเหตุ และอุบัติภัยที่นำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิต

ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม


๑. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
๒. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ
๓. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
๔. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียนซึ่ง เป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ

ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ


๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และการคุมประพฤติ นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่น โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ